วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2554

พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัว


พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัว กฎหมายที่ฟังเด็กมากขึ้น
                เป็นเรื่องที่น่ายินดี  และดีใจสำหรับเด็กและเยาวชนมากขึ้น  เมื่อมีการประกาศใช้  พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัว  ให้มีผลบังคับใช้ได้ตั้งแต่วันที่  22  พฤษภาคม  เพราะสาระสำคัญในบทพระราชบัญญัติฯ  นี้  ได้ถูก  ปรับปรุง-แก้ไข  เกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองสิทธิสวัสดิภาพ และวิธีปฏิบัติต่อเด็ก เยาวชน และกระบวนการพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว  หากได้อ่านรายละเอียดแล้วจะเข้าใจได้ว่าเป็น  พ.ร.บ.ที่ฟังเด็กและเยาวชน  มากขึ้นกว่าเดิม
                แบบประเมินนี้จะออกเป็นค่าประเมินปัจจัยเสี่ยง  เป็นค่าต่ำ  ค่ากลาง  ค่าสูง  เพราะฉะนั้นเมื่อเสนอไปทางศาล  ศาลจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ถูกจุด  เช่น  ปัญหา  การกระทำผิดครั้งนี้ไม่ได้เกิดจากตัวเด็กเลย  แต่เกิดจากบิดา  มารดา  และผู้ปกครอง  เมื่อรายงานไปที่ศาลจะจัดการกับบิดา  มารดา  ผู้ปกครองได้  โดยไม่ต้องมาจัดการตัวเด็ก  แต่กฎหมายเก่าจะจัดการที่เด็กอย่างเดียว  ทำให้เด็กเครียดมากขึ้น  และมีทัศนคติไม่ดีต่อสังคม  ต่อกระบวนการยุติธรรม  ที่ผ่านมากระบวนการยุติธรรมไทยไม่สนใจว่าเด็กเป็นสิ่งมีชีวิต  และเด็กต้องรู้จักศูนย์ฝึกก่อนด้วยว่าไม่ใช่คุกเด็ก  แต่เป็นที่ที่ให้พักพิงชั่วคราว
                และสิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับเด็กและเยาวชนมาก  พบว่า  เด็กมีปัญหาใหญ่ๆ  มากที่สุด  คือ  เรื่องการสื่อสารระหว่างพ่อแม่กับเด็กเหมือนคุยกันคนละภาษา  พ่อแม่ต้องการให้เด็กเป็นไปอย่างที่พ่อแม่อยากให้เป็น  โดยลืมว่าเด็กมีโลกของเขาที่อยากจะเป็นเช่นกัน
                หากปัญหาเกิดจากพ่อแม่  จะต้องแก้ปัญหาเยียวยา  จนกว่าจะเกิดความเข้าใจในครอบครัว  แต่หากแก้ไขไม่ได้  จะไม่ปล่อยให้เด็กกลับไปอยู่ให้เกิดปัญหาอีก  ซึ่งศาลจะวินิจฉัยสามารถให้ยกเลิกการเป็นพ่อแม่  ผู้ปกครองได้อีกด้วย  และ  พ.ร.บ.นี้จะได้ประโยชน์แก่เด็กในการคุ้มครองเยียวยา  จะไม่มองเรื่องโทษเป็นหลัก  แม้ว่าเด็กถูกตำรวจจับ  อัยการสั่งฟ้องเรียบร้อย  ท้ายที่สุดศาลพิจารณาว่าเด็กมีความเสี่ยงสูง  เช่น  พ่อแม่เล่นการพนัน  หรือเกี่ยวข้องกับยาเสพติด  เด็กไม่ได้เรียนหนังสือ  ชุมชนเป็นแหล่งยาเสพติด  หรือเด็กไม่ได้ทำผิด  แต่ถูกจับเพราะอยู่ในเหตุการณ์ด้วย  ศาลจะสั่งฝึกอบรมเยียวยาเด็ก  เพื่อที่จะคุ้มครองเด็กต่อไป  และกฎหมายฉบับใหม่ระบุด้วยว่า  เด็กจะไม่มีประวัติอาชญากร  ห้ามเอาประวัติมาทำร้ายกับเด็กเด็ดขาด       นอกจากนี้  พ.ร.บ.ตัวนี้จะลดปัญหาเด็กทำผิดซ้ำได้และลดลง  แต่ไม่สามารถไปป้องกันเด็กรายใหม่ได้  ซึ่งล้วนเกิดจากปัญหาคอบครัว  การคบเพื่อนและเด็กไม่ได้เรียนหนังสือ  
                อะไรที่เปลี่ยนไปใน  พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัว
                หลักที่  1  หลักเกณฑ์การปล่อยตัวชั่วคราว  เดิมที่พนักงานสอบสวนจับกุมเด็กต้องพาตัวเด็กมาที่สถานพินิจฯ  หรือบ้านเมตตาภายใน  24  ชั่วโมงเลย  และผู้อำนวยการสถานพินิจฯ  จะเป็นผู้พิจารณาว่าจะปล่อยตัวชั่วคราวเลยหรือไม่ปล่อย  แต่เจตนารมณ์ของอนุสัญญาสิทธิเด็กที่ประเทศไทยได้ร่วมลงนามด้วยนั้นต้องให้มีการคุมตัวเด็กในระยะสั้นและจำเป็นที่สุด  เพื่อลดขั้นตอนกฎหมายฉบับนี้จึงระบุให้พนักงานสอบสวนจับกุมเด็กต้องส่งเด็กไปให้ศาลภายใน  24  ชั่วโมงแทน  ซึ่งศาลจะเป็นผู้ตรวจพิจารณา
                หลักที่  2  คือ  ในกฎหมายฉบับนี้  ขอให้มีคณะกรรมการสหวิชาชีพ  4  ด้าน  คือ  ด้านการศึกษา  ด้านสาธารณสุข  ด้านสังคมสงเคราะห์  และด้านจิตวิทยา  ใน  4  ด้านนี้ต้องเป็นคนภายนอกกึ่งหนึ่งที่เป็นมืออาชีพเกี่ยวกับสหวิชาชีพ  เข้ามาดูแลเด็ก  จะทำให้สามารถดูแลเด็กได้ใกล้ชิดขึ้น  และคณะกรรมการสหวิชาชีพจะได้ค่าตอบแทนด้วย
                หลักที่  3  เรื่องการใช้มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญา  คือ  ถ้าโทษจำคุกไม่เกิน  5  ปี  และเด็กไม่เคยกระทำความผิด  หรือต้องโทษจำคุกมาก่อน  รวมทั้งเด็กมีการสำนึกในการกระทำผิดก่อนฟ้อง  แล้วผู้เสียหายยินยอม  ถ้าเข้าเกณฑ์ตามนี้สามารถเสนอให้ทำแผนบำบัดแก้ไขฟื้นฟู  และเสนอให้อัยการเห็นชอบ  รวมทั้งสั่งไม่ฟ้องได้  แต่หากต้องโทษจำคุกเกินกว่า  5  ปี  แต่ไม่เกิน  20 ปี  ในกฎหมายฉบับนี้ร่างไว้ว่า  ให้สามารถไปดำเนินการจัดทำแผนบำบัดแก้ไขฟื้นฟูได้  แต่โจทย์ต้องไม่คัดค้านด้วย  ซึ่ศาลจะเป็นผู้ดุลพินิจเอง
                หลักที่  4  กฎหมายนี้จะคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กมากขึ้น  หากการสืบเสาะจากผู้อำนวยการสถานพินิจฯ  พบว่าเด็กที่กระทำผิดเกิดขึ้นเพราะการเลี้ยงดูของครอบครัวที่ใช้ความรุนแรง  ศาลจะสามารถถอดความเป็นผู้ปกครองเด็กคนนั้นเลยก็ได้  แล้วมอบให้ผู้อำนวยการสถานพินิจฯ  หรือผู้อื่นที่ศาลเห็นสมควรเป็นผู้ปกครองได้ในระยะเวลาที่ศาลสั่งเป็นผู้ดูแล
                หลักที่  5  นอกจากศาลจะสั่งให้เด็กไปฝึกอบรมในศูนย์ฝึก  และอบรมของสถานพินิจแล้ว  ยังสามารถส่งไปในที่อื่นที่กฎหมายกำหนด  และศาลเห็นสมควรได้  เช่น  วัด
                หลักที่  6  ในกรณีที่เด็กมีโทษปรับ  ให้สามารถนำโทษปรับนี้ไปทำงานบริการสังคมได้แทน
หลักที่  7  เด็กและเยาวชนที่พ้นจากการฝึกอบรมที่สถานพินิจแล้ว  ศูนย์ฝึกอบรมสามารถสงเคราะห์เด็กต่อได้อีก  1  ปี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น