วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ใครเป็นผู้จัดการมรดก


ใครเป็นผู้จัดการมรดก  ปัญหาเกิดขึ้นบ่อยเพราะว่าผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมซึ่งอาจเป็นไปได้ว่า ตายกะทันหัน หรือไม่มีความรู้ว่าต้องควรทำพินัยกรรมทรัพย์สินทีตนมีอยู่เพื่อให้คนที่มีสิทธิรับมรดกและไม่มีสิทธิ ต้องมาแย่งกันในภายหลัง ครับ
                เรื่องมีอยู่ว่า ผู้คัดค้าน อยู่กิน กับ ภรรยา   โดยมิได้จดทะเบียนสมรสกัน แล้วก็มีบุตรชายออกมาหนึ่งคน  โดยตามกฎหมาย บุตรชายย่อมเป็นบุตรโดยชอบของ ภรรยา ซึ่งเป็นแม่ครับ แต่จะเป็นบุตรโดยชอบของพ่อซึ่งเป็นผู้คัดค้านหรือไม่ ต้องดูว่าได้จดทะเบียนรับรองบุตรหรือไม่    ต่อมาบุตรชาย ก็ได้เมื่อเติบโตขึ้นมา  เมื่อได้เวลาสมควรจึงอยู่กินกับ  หญิง  โดยจดทะเบียนสมรสเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย  ต่อมาบุตรชายกับหญิง ก็ ได้ ช่วยกันทำมาหากิน  มีทรัพย์สินเนืองนองกองได้หลายกอง  อยู่มาวันหนึ่ง  บุตรชายได้เสียชีวิตลง 
แล้วหญิงซึ่งเป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตรชาย  ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดก   แต่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นตา ยื่นมือสอดเข้าไปในทันที   โดยเข้าไปคัดค้านว่าไม่สมควรตั้งหญิงผุ้ร้อง เป็นผู้จัดการมรดกหรอก  แต่ควรตั้งตนเองมากกว่า  เพราะตนเองเป็นบิดาของชาย
                ศาลเห็นว่าผู้คัดค้านเป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย  เพราะไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับภรรยา ที่เป็นมารดาของชาย   จึงมีคำสั่งตั้งหญิง ภริยาของ ชาย เป็นผู้จัดการมรดก  แล้วก็ยกคำคัดค้านไป    แต่ผู้คัดค้าน อุทธรณ์  แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
                ผู้คัดค้าน ฎีกาอีก  ว่าแม้ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับภรรยา แต่เมื่อออกลูกมาเป็นบุตรชาย  ผู้คัดค้านก็ได้เลี้ยงดู  รับรองว่าเป็นบุตรใครต่อใครต่างรู้ว่าเป็นลูกตนทั้งหมูบ้านทั้งอำเภอ  ตนจึงเป็นทายาทของลูกหนึ่งเดียวด้วย   จึงมีสิทธิคัดค้านขอให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกได้
                ศาลฎีกาวินิจฉัย  ที่ผู้คัดค้าน ฎีกาว่าได้อุปการะเลี้ยงดูบุตร ผู้ตาย มาแต่เด็ก รับรองและแสดงต่อบุคคลทั่วไปว่าผู้ตายเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 1627  นั้น  ผลของบทกฎหมายดังกล่าว  เพียงแต่ให้ถือว่าบุตรนั้นเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย  มีสิทธิได้รับมรดกบิดาเท่านั้น  หาได้มีผลทำให้บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วยกฎหมายด้วยกลับมาเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย  มีสิทธิได้รับมรดกของบุตรในฐานะทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา  1629  ด้วยไม่
ผู้คัดค้านจึงมิใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตาย  ไม่มีสิทธิคัดค้าน  หรือร้องขอต่อศาลให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้    ศาลฎีกาพิพากษายืน
สรุปว่า หากเป็น บิดาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดา แม้จะมีพฤติกรรมรับรองบุตร ก็ถือเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว  มีผลคือ บุตรมีสิทธิรับมรดกของบิดา แต่ในทางกลับกันการรับรองโดยพฤติกรรม ไม่ทำให้บิดา กลายเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตร   ก็เลย ไม่มีสิทธิรับมรดกของบุตร    เมื่อไม่มีสิทธิรับมรดกบุตร ก็ไม่มีสิทธิคัดค้านหรือเข้ามาเป็นผู้จัดการมรดกของบุตร เพราะไม่ได้เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของบุตรตนเองครับ
เพราะฉะนั้นก็ควรจะจดทะเบียนสมรสกับภรรยา เพื่อที่ลูกที่เกิดมาจะเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายและตนในฐานะบิดาก็มีสิทธิรับมรดกของลูกได้ หายลูกตนเองตายก่อนครับ






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น