วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2554

บันดาลโทสะ


บันดาลโทสะ
ไอ้หนุ่มเป็นหนุ่มวัยคะนอง  จอมเกเรของหมู่บ้าน  คว้าแขนคว้าตัวผู้เสียหาย ฉุดกระชากพยายามลากออกจากบ้านไปทันที  ด้วยสัญชาตญาณของแม่ที่ปกป้องลูก ก็พยายามจะคว้าเอาลูกสาววัยรุ่นไว้ได้  ก่อนที่ไอ้หนุ่มจะลากไปพ้น  พี่ชายน้องชายของสาวผู้เสียหายก็ช่วยกันขวางอย่างเต็มที่  ชุลมุนพัลวันกันออกจากประตูบ้าน  ออกมาถึงลานบ้าน  ฝ่ายหนึ่งพยายามจะฉุดออกไปให้ได้  อีกฝ่ายหลายคนขวางสุดกำลัง  คราวนี้ผู้เป็นพ่ออยู่ในเหตุการณ์ด้วยกระโจนมาหยิบปืนลูกซองข้างผนัง  คว้ามาถือกระชับมือมั่น และบอก ให้ปล่อยไอ้หนุ่มเห็นท่าไม่ดี  สู้แรงสามสี่คนไม่ไหว  และยิ่งไม่มีทางสู้ลูกซองยาวกระบอกนั้นได้จึงถอย  แต่ก็ตะโกนไปว่า ยังไงก็จะเอาให้ได้ ในขณะเดินไปที่รถมอเตอร์ไซด์ที่จอดไว้  สรุป เปรี้ยง  เสียงปืนลูกซองดังขึ้น  ร่างที่ปากเก่ง  ยโสอุกอาจถึงขนาดเข้ามาฉุดลูกสาวเขาต่อหน้าพ่อแม่พี่น้องกลางวันแสกๆ ล้มคว่ำลงจมกองเลือดทันที  พ่อถูกจับกุม  เขารับสารภาพว่าทำจริง  จึงถูกส่งฟ้องศาล  ข้อหาฆ่าผู้อื่น  ศาลชั้นต้นจึงพิพากษาว่า  พ่อมีความผิดฆ่าผู้อื่นโดยบันดาลโทสะ  ให้จำคุก 10 ปี  พนักงานอัยการโจทก์อุทธรณ์ให้เพิ่มโทษ พ่ออุทธรณ์ขอลดโทษ  ศาลอุทธรณ์พิพากษา  แก้โทษลดโทษลงเหลือเพียงจำคุก 4 ปี  ทั้งสองฝ่ายฎีกา  โดยทางฝ่ายพ่อฎีกาว่าที่ยิงน่ะเป็นการป้องกันสิทธิของตนเองหรือผู้อื่นจากภยันตราย  ซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง  เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย  ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 68  ต้องไม่มีความผิดเลยสิ  แต่ศาลฎีกาพิเคราะห์แล้ว  วินิจฉัยว่า  ไอ้หนุ่มหนะน่ะถอยกลับไปแล้ว  ขณะนั้นภยันตรายที่เกิดจากการกระทำของไอ้หนุ่มหมดไปแล้วกรณีนี้จึงไม่ต้องด้วยมาตรา 68  อย่างไรก็ตาม การที่ไอ้หนุ่มบุกเข้าไปลวนลามลูกสาวเขาถึงในบ้าน  นับเป็นการข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมและผู้เป็นพ่อยิงคุณเงือบแทบจะทันทีทันใดหลังจากถูกข่มเหงนั้น จึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ ศาลฎีกาเห็นพ้องกับที่ศาลล่างวินิจฉัยว่าผู้เป็นพ่อกระทำฆ่าผู้อื่นโดยบันดาลโทสะ  ศาลพิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์  ศาลลงโทษจำคุก 4 ปี  น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดฆ่าผู้อื่นอยู่แล้วเพราะความผิดนี้โทษเบาะๆนั้น  จำคุกตั้งแต่ 15 ปีถึง 20 ปี
(เทียบคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 900/2553)
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา  68 ผู้ใดจำต้องกระทำการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตน? หรือของผู้อื่นให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย? และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง? ถ้าได้กระทำพอสมควรแก่เหตุ? การกระทำนั้นเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย? ผู้นั้นไม่มีความผิด
มาตรา 72 ผู้ใดบันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุ อันไม่เป็นธรรม จึงกระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น ศาลจะ ลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใด ก็ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น