วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2554

พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540


สำหรับวันนี้จะพูดถึงเรื่อง พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ ได้กำหนดไว้ให้สิทธิแก่ประชาชนในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจต่างๆ มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2540 แล้วนะครับ   แต่อาจมีคนจำนวนไม่มากนักที่ทราบถึงสิทธิดังกล่าว
                ก่อนอื่นอยากจะพูดถึง กฎหมายที่เกี่ยวข้องหลักๆ คือ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้กำหนดให้ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในการครอบครองของหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ  รัฐวิสาหกิจ เว้นแต่ การเปิดเผยข้อมูลนั้นจะกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของรัฐ  ความปลอดภัยของประชาชน หรือเป็นข้อมูลส่วนตัวของประชาชนครับ  เห็นไหมครับ ขนาดรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายตัวหลักยังได้บัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่า ท่านผู้ฟังทุกท่านมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานของรัฐครับ แล้วก็มี พ.ร.บ.นี้ที่มีบทบัญญัติเพิ่มเติมในรายละเอียด เช่นว่า ท่านผู้ฟังมีสิทธิอย่างไรบ้าง  เจ้าหน้าที่มีหน้าที่มีสิทธิอย่างไร  ถ้าเจ้าหน้าที่ไม่ยอมให้ข้อมูลจะทำอย่างไรได้บ้าง  ซึ่งผมจะพูดถึงอีกสักครู่
                วันนี้ผมจึงจะขออธิบายเกี่ยวกับสิทธิของท่านผู้ฟังเฉพาะในส่วนที่สำคัญตาม พ.ร.บ. นี้ครับแต่ก็จะขอพูดถึง
เจตนารมณ์ของกฎหมายซึ่งก็เพื่อ
1 กำหนดให้สิทธิแก่ประชาชนที่จะได้รับข้อมูล  2 เพื่อให้ระบบราชการโปร่งใส  ประชาชนตรวจสอบได้
3 เพื่อป้องกันการทุจริต  4 เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง สามารถคุ้มครองข้อมูลของตนเอง 
                ปกติในอดีตนานมาแล้ว หากท่านผู้ฟังต้องการจะทราบข้อมูลต่างๆจากทางเทศบาล เช่น อยากทราบว่า งบประมาณปีนี้มีเท่าไร จะใช้จ่ายในการทำอะไรบ้าง หากเดินมาขอข้อมูล เจ้าหน้าที่เทศบาลก็อาจจะปฏิเสธจากเจ้าหน้าที่ ไม่ให้ข้อมูลดังกล่าวได้โดยอ้างว่าท่านเป็นผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อมูลตรงนี้  แต่ในปัจจุบันแม้ท่านไม่มีส่วนได้เสีย ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง   อยากทราบเฉยๆ  หรือ  น้องๆนักเรียนอยากจะเอาไปทำรายงาน หรือ   มีเหตุผลส่วนตัวอื่นๆ ก็มาขอดูข้อมูลได้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของเทศบาลครับ มีบริการให้ท่านสามารตรวจดูข้อมูลได้ทันทีครับ
                ข้อมูลอะไรบ้างที่ ท่านขอดูได้
 ตามหลักของ พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ ได้กำหนดว่า เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น ซึ่งหมายความว่า
หน่วยงานต่างของราชการมีหน้าที่ที่ต้องเปิดเผยข้อมูลต่างๆให้ประชาชนที่มาร้องขอทราบ โดยมีหลักว่าต้องเปิดเผย แต่ก็มีข้อมูลบางประเภทที่กฎหมายบอกเป็นข้อยกเว้นไม่ต้องเปิดเผยครับ เช่น สิทธิของบุคคลในครอบครัว  เกียรติยศ  ชื่อเสียง หรือความเป็นส่วนตัว ย่อมได้รับการคุ้มครองไม่ต้องเปิดเผยเว้นแต่ จะได้รับอนุญาตจากเจ้าของข้อมูลนั้นก่อน
                ยกตัวอย่างข้อมูลที่เปิดเผยได้เช่น เทศบัญญัติ  แผนงานโครงการต่างๆ  งบประมาณ  ประกาศประกวดหรือสอบราคาจัดซื้อจัดจ้าง  ราคากลาง   ผลการประกวดราคาหรือสอบราคาจัดซื้อจัดจ้าง  คำสั่งให้ผู้รับเหมาเป็นผู้ทิ้งงาน  การสั่งอนุญาตหรือปฏิเสธการก่อสร้างอาคาร  คำสั่งอนุมัติหรือไม่อนุมัติต่างๆ  นโยบายเทศบาลแถลงต่อสภาเป็นต้น
ซึ่งการเปิดเผยนี้หากมีข้อมูลที่ต้องห้ามมิให้เปิดเผยเทศบาลก็มีสิทธิ ลบ  ตัดทอน   ในส่วนที่ห้ามเปิดเผยได้
อันนี้เรียกว่าเปิดเผยบางส่วนครับ
                การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารก็มีหลายวิธีครับคือ 1 การลงพิมพ์ไว้ในราชกิจจานุเบกษา 2  การจัดไว้ให้ประชาชนได้ตรวจดู (ที่เทศบาลก็ได้มีศูนย์ข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนตรวจดูได้ด้วยตนเอง) และนอกจากนี้เทศบาลเรายังมี 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น